การใช้ยาสมเหตุสมผลในจังหวัดสมุทรสงคราม (RDU)

คลิ๊กที่รูปภาพ/ข้อความด้านล่าง เพื่อเข้าประเมินความรอบรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมเหตุผล
(*เลือกจังหวัดสมุทรสงครามนะครับ)

คลิ๊กที่รูปภาพ/ข้อความด้านล่าง เพื่อเข้าระบบประเมินตนเองด้านการใช้ยาสมเหตุผล สำหรับสถานพยาบาลประเภทรับผู้ป้วยไว้ค้างคืน/ คลินิก ปีงบประมาณ 2567 ผ่าน https://rdumrd.hss.moph.go.th/

ด้วยกระทรวงสาธารณสุข ได้ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 : ร้อยละของจังหวัดที่ผ่านเกณฑ์พัฒนาสู่จังหวัดใช้ยาสมเหตุผล (RDU province) ที่กำหนดคำนิยามดังนี้

  1. การใช้ยาอย่างสมเหตุผล หมายถึง การที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ มีความรู้ ทัศนคติและ
    พฤติกรรม เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับยาและใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ตามข้อบ่งชี้ทางคลินิก
    และความจำเป็นด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล ในขนาดยา วิธีใช้ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม
    โดยเกิดความคุ้มค่าสูงสุด ทั้งต่อบุคคลและสังคม รวมทั้งประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และ
    สามารถใช้ยาในการดูแลสุขภาพตนเองตามความจ าเป็น ลดความเสี่ยงจากยาและผลิตภัณฑ์
    สุขภาพกลุ่มเสี่ยง
  2. ยา ในที่นี้หมายถึง ยา (รวมถึงวัคซีน) ตามกฎหมายว่าด้วยยา และยาจากสมุนไพรตาม
    กฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตลอดจนวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และยาเสพติดให้
    โทษที่น ามาใช้ทางยา รวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มุ่งหมายใช้เป็นยา ครอบคลุมยาส าหรับมนุษย์
    และยาส าหรับสัตว์
  3. ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มุ่งหมายใช้เป็นยา หมายถึง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการโฆษณาและ
    กล่าวอ้างสรรพคุณมุ่งหมายส าหรับใช้ในการวินิจฉัย บ าบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือ
    ความเจ็บป่วย
  4. จังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU province) หมายถึง หมายถึง จังหวัด หรือพื้นที่ทางการ
    ปกครองใด ๆ ตามกฎหมาย ที่มีอำเภอหรือเขตที่เป็นไปตามเกณฑ์ “อำเภอใช้ยาอย่างสมเหตุผล”
    (RDU district) อย่างน้อยร้อยละ 50 ของอำเภอ/เขตทั้งหมด
  5. อำเภอใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU district) หมายถึง อำเภอที่มีการออกแบบบริหารจัดการ
    และพัฒนาระบบสุขภาพของชุมชน เพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยมีการกำหนดนโยบายและ
    มาตรการดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการหรือองค์กรระดับอำเภอ และมี RDU Coordinator
    เป็นผู้ประสานการดำเนินงาน โดยการพัฒนาประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
    (1) การพัฒนาโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU hospital)
    (2) การพัฒนาสถานพยาบาลเอกชนและร้านยาให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU in Private
    Health Sectors)
    (3) การพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU community, Non Health Sectors)
    เช่น ร้านชำ โรงเรียน โรงงาน ปศุสัตว์ และภาคเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประชาชน รวมถึงการใช้ยาในสัตว์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยา ใช้ยาอย่างมีประสิทธิผล คุ้มค่า มีความรอบรู้ในการใช้ยา และการดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย

โดยในส่วนที่เกี่ยวข้อกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. จะเป็นในส่วนของ

  1. RDU PCU โดยมีตัวชี้วัดคือ ร้อยละ 80 ของรพ.สต. ผ่าน RDU ใน RI, AD
  2. RDU Communmity (private sector) โดยมีตัวชี้วัด ร้อยละ 10 ของร้านชำทั้งหมดอย่างน้อย 2 ตำบลในอำเภอเป้าหมายผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพประเภทการใช้ยาสมเหตุสมผล (G-RDU)

แผนพัฒนางาน service plan ประเด็น RDU

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ รพสต. จะเป็นการพัฒนางานในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในชุมชน และการสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาสมเหตุสมผลของประชาชน

การวัดผลของตัวชี้วัด RDU

RDU Literacy จะเป็นการวัดความรอบรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยจะเก็บข้อมูลใน

  1. เจ้าหน้าที่ รพ.สต./อสม. ผ่าน line https://moph.cc/sanitarium

2. ประชาชน ผ่าน line https://moph.cc/citizen

ร้านชำ G-RDU จะเป็นการรายงานผลการดำเนินงานผ่าน google form ที่อย.สร้าง ทุกไตรมาส

คลินิก/โรงพยาบาลเอกชน RDU Private Sector จะเป็นการประเมินตนเองของคลินิก ปีละ 1 ครั้ง ผ่าน https://rdumrd.hss.moph.go.th/

RDU Community ประเมินตนเองผ่าน google form ผ่านลิงค์ https://moph.cc/M-E_RDU_Community

แบบตรวจประเมิน G-RDU ver. 1 apr 2024

ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล สนับสนุนการของ รพสต. และ อสม. ในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในชุมชน และการสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาสมเหตุสมผลของประชาชน

รายการยาห้ามขายในร้านชำ

ยาปฏิชีวนะ ยาที่คนเข้าใจผิดมากที่สุด (ยาปฏิชีวนะ ≠ ยาต้านการอักเสบ)

วิธีดูยาหมดอายุและยาเสื่อมสภาพ