ข่าวประชาสัมพันธ์กลุ่มงาน,  ยา,  เตือนภัยผู้บริโภค

ยาห้ามขายในร้านชำ

ทำไมผู้บริโภคถึงไม่ควรซื้อยาอันตรายจากร้านชำมารับประทานเอง

องค์การเภสัชกรรม เตือนผู้ที่นิยมซื้อยาปฏิชีวนะรับประทานเอง และรับประทานบ่อยเกินความจำเป็น อาจเสี่ยงต่อการดื้อยาสูงและแพ้ยาจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มยาปฏิชีวนะเข้าสู่ร่างกายโดยเปล่าประโยชน์ โรคที่เป็นอยู่ก็ไม่หาย โดยองค์การเภสัชกรรมแนะนำว่า ต้องกินยาอย่างถูกวิธี ต่อเนื่องจนครบ ซึ้อยาจากร้านที่มีเภสัชกรประจำร้านดูแล สามารถให้คำแนะนำการใช้ยา และที่สำคัญที่สุดคือการมาพบแพทย์ในสถานพยาบาล เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

ผลเสียจากใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น

  • เชื้อแบคทีเรีย จะปรับตัวให้ทนต่อยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้เชื้อดื้อยา
  • เกิดการทำลายเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน ผื่นคัน หรือลมพิษ เป็นต้น
  • อาจทำให้ฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ หรือยาอื่น ๆ ที่รับประทานอยู่เพิ่มขึ้นจนเกิดผลข้างเคียงที่มากขึ้น หรือลดลง จนไม่ได้ผลในการรักษา

ผลเสียจากการเลือกซื้อยาปฏิชีวนะรับประทานเอง

  • สูญเสียความสามารถในการรักษาโรค เพราะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะไม่ตรงกับโรคที่เป็น
  • ก่อให้เกิดพิษหรือแพ้ยาปฏิชีวนะ บางรายอาจถึงขั้นรุนแรง ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และอาจเสียชีวิตได้
  • เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อยา และไม่ได้รับประสิทธิผลของยาที่ใช้ในการรักษา
  • เป็นสาเหตุสำคัญของเชื้อดื้อยา ซึ่งต่อไปเมื่อเกิดการติดเชื้อ ที่ต้องการการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ มักจะรุนแรงขึ้น รักษาได้ยากขึ้น มีโอกาสเสียชีวิตได้สูงขึ้น

โรคบางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องเริ่มรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

  • ไข้หวัด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มีอาการน้ำมูกไหล ไอ เสียงแหบ เจ็บคอ มีไข้ โรคนี้จะหายได้เองภายใน 7-10 วัน โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้ามีอาการเจ็บคอ มีหนองที่ต่อมทอนซิล ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโตและกดเจ็บ หรืออาการแย่ลง ต้องไปพบแพทย์
  • ท้องเสีย เกือบทั้งหมดมักเกิดจากเชื้อไวรัส หรืออาหารเป็นพิษ มีอาการถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ อาจคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย รักษาโดยดื่มน้ำเกลือแร่ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แต่หากมีไข้สูง หรือถ่ายอุจจาระมีมูกเลือดปน ต้องไปพบแพทย์
  • บาดแผลเลือดออก เช่น แผลมีดบาด แผลถลอก บาดแผลเล็กน้อยจากอุบัติเหตุ ควรล้างทำความสะอาดอย่างถูกต้อง ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แต่กรณีที่เป็นแผลที่เท้า ตะปูตำ แมลงสัตว์กัดต่อย หรือโดนสิ่งสกปรก เช่น มูลสัตว์ หรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ต้องไปพบแพทย์

ทั้งนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หรืออย่างน้อยควรปรึกษาเภสัชกรก่อนเสมอ เพราะนอกจากอันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะอีกหลายประการ เช่น การมีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นโรคตับ หรือโรคไต จำเป็นต้องเลี่ยงการใช้ยาบางประเภท หรืออาจต้องปรับขนาดยาให้เหมาะสมตามอายุของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็ก ต้องคำนวณปริมาณยาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีประวัติแพ้ยาบางชนิด การแจ้งแพทย์และเภสัชกรให้ทราบว่าตนเองแพ้ยาชนิดใด

เหตุผลที่ร้านชำไม่ควรจำหน่ายยาอันตราย ยาบรรจุเสร็จ และยาควบคุมพิเศษเนื่องจาก

1.ร้านชำไม่มีใบอนุญาตขายยาตามกฏหมายเหมือนร้านยาทั่วไป จึงไม่สามารถขาย”ยาอันตราย”ได้ ขายได้เพียง “ยาสามัญประจำบ้าน” ได้เท่านั้น

2.ร้านชำไม่มีผู้ประกอบวิชาชีพ หรือเภสัชกรที่มีความรู้เกี่ยวกับยาคอยให้คำแนะนำ จึงอาจเกิดความเสี่ยงจากการใช้ยาไม่เหมาะสม นำไปสู่ผลข้างเคียงจากยาที่อันตรายหรือให้การรักษาไม่ตรงจุดพบบ่อยในร้านชำ แต่ตามกฏหมาย

ตัวอย่าง ยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำ เช่น

  • ยาทัมใจ ป๊อก 109 ไดฟีลีน เพียแคม
  • ทีซีมัยซีน กาโน่
  • ทิฟฟี่ ดีคอลเจน
  • ยาหยุดถ่าย โลโมติล

“เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฏหมาย และอันตรายที่อาจเกิดแก่ผู้ที่มาซื้อยา

ร้านชำจึงไม่ควรจำหน่ายยาอันตราย ตลอดจนยาบรรจุเสร็จฯและยาควบคุมพิเศษ “

ทิ้งคำตอบไว้